มาตรการ CVD

การแก้ต่างเมื่อสินค้าไทยถูกประเทศคู่ค้าใช้มาตรการ CVD

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จะร่วมกับผู้ส่งออกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ในการกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการแก้ต่าง และให้ข้อแนะนำในการต่อสู้ในแต่ละขั้นตอนของการไต่สวนตามกฎหมายของประเทศคู่ค้า

1.หากสินค้าไทยถูกฟ้องประเทศผู้เปิดการไต่สวนจะ

-มีหนังสือแจ้งเปิดการไต่สวนมายังผู้ผลิต / ผู้ส่งออกไทยที่ถูกกล่าวหาโดยตรง

-มีหนังสือแจ้งเปิดการไต่สวนมายังสถานทูตไทยประจำประเทศนั้น

-มีประกาศแจ้งใน Website ของประเทศที่เปิดการไต่สวน / องค์การการค้าโลก (WTO)

2.การดำเนินการแก้ต่างของผู้ส่งออก

-ติดต่อกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ข้อมูลประกอบการกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ต่าง / ต่อสู้

-รวบรวมข้อมูล สถิติการส่งออกและราคาขายสินค้าของบริษัททั้งในและต่างประเทศในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา และข้อมูลอื่นๆ เพื่อเตรียมการตอบแบบสอบถามของประเทศคู่ค้าที่ฟ้อง

-จัดเตรียมบุคลากรในการตอบแบบสอบถาม

-จัดเตรียมระบบบัญชีต้นทุน แยกเป็นรายประเภทสินค้า หรือพิกัดที่ถูกกล่าวหา และเตรียมการชี้แจงเมื่อผู้แทนของหน่วยงานผู้ไต่สวนเดินทางมาตรวจสอบข้อมูลที่บริษัทตอบแบบสอบถามไว้

3.ผลกระทบหากถูกใช้มาตรการ CVD

-การชะลอตัวทางการค้า / การส่งออกลดลง

-กระทบต่อการผลิต / การจ้างงาน

-เสียความสามารถในการแข่งขัน และเสียส่วนแบ่งตลาดในประเทศคู่ค้า

-เสียอำนาจการต่อรองกับผู้นำเข้าในประเทศคู่ค้า

-หากประเทศที่ใช้มาตรการเป็นตลาดหลัก และเรียกเก็บอากรในอัตราสูงจนไม่มีการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศนั้น ผู้ประกอบการจะถูกกระทบอย่างรุนแรงจนไม่สามารถดำรงธุรกิจอยู่ได้

4.บทบาทของภาครัฐในการแก้ต่าง

จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ในการให้คำแนะนำ หลักเกณฑ์ ขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินการแก้ต่างของประเทศคู่ค้า พร้อมทั้งร่วมยกประเด็นโต้แย้งในการเปิดไต่สวน CVD ต่อประเทศคู่ค้า และเข้าร่วมในกระบวนการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริง (Verification)


สหรัฐอเมริกา